การปรับสมดุลให้กับจิตใจของเราเองนั้น ถือเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ชีวิตของคนเรามักจะยุ่งอยู่กับเรื่องราวต่าง ๆ มากมายจนหลงลืมบางสิ่งบางอย่างที่มันสำคัญกับชีวิตของเรา มีบางครั้งไหมครับที่ช่วงจังหวะชีวิตของคุณนั้นมันช่างน่าวุ่นวายใจเหลือเกิน รู้สึกว่าอะไรก็ยุ่งไปหมด ทั้งที่ในความเป็นจริงชีวิตก็ยังดำเนินไปเช่นนั้น สาเหตุนั่นก็เป็นเพราะว่า สมดุลของจิตใจคุณนั้นเริ่มไม่เป็นปกติแล้ว เป็นต้นว่า
- คุณอาจยุ่งอยู่กับกิจกรรมบางอย่างมากจนเกินไป เช่น ครอบครัว การงาน การเงิน หรือกระทั่งหนี้สิน
- คุณอาจยุ่งอยู่กับสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เช่น การคาดหวังกับบางสิ่งในอนาคต คิดถึงเรื่องของความมั่นคง หรือ ความมั่งคั่งในชีวิตส
- คุณอาจยุ่งกับสิ่งที่มันผ่านไปแล้ว เช่น การจมอยู่กับอดีตที่ตัวเองเคยถูกทำร้าย จากเพื่อนร่วมงาน เจ้านาย คนรัก หรือครอบครัว หรือบุคคลใดก็ตาม แล้วมานั่งเจ็บใจ เจ็บแค้นคิดแบบนี้ซ้ำ ๆ วนไปเรื่อย ๆ โดยไม่รู้จักการปล่อยวาง
การสร้างสมดุลให้กับชีวิตจึงเป็นเรื่องที่จำเป็นมาก นั่นเพราะมันคือทุกอย่างของเราอย่างแท้จริง ธรรมชาติของตัวตนของมนุษย์คนหนึ่ง มันจะให้คำตอบอะไรบางอย่างกับเราก็ต่อเมื่อเราทำใจให้ว่าง ชำระสิ่งต่าง ๆ โดยการปรับความสมดุล ทั้งทางร่างกายและจิตใจให้พร้อมอยู่เสมอ แล้วความปรารถนาที่ลึก ๆ ในหัวใจของเราจะปรากฎ นั่นคือ ความปรารถนาว่าอะไรกันแน่คือแก่นแท้ของชีวิตเรานั่นเอง ปัจจุบันผู้คนมากมายมักจะพยายามแก้ปัญหาต่าง ๆ ยิ่งแก้ก็ยิ่งยากขึ้นและซับซ้อนมากขึ้นทุกวัน กลายเป็นว่าเหมือนปมเชือกที่มันพันไปเรื่อย ๆ จนยากที่จะหาทางแก้ไข
เหตุเพราะมนุษย์นั้นมีความโลภ ความต้องการที่มากเกินพอดี เลยทำให้หลงลืมไปว่าในท้ายที่สุด เราไม่สามารถเอาอะไรจากโลกนี้ไปได้เลย เราไม่ยอมที่จะปรับสมดุลทางใจของเรา ไม่ยอมปล่อยวางและชำระร่างกายให้ใสสะอาด และบริสุทธิ์อยู่เสมอ บางทีก็หลงลืมภารกิจที่สำคัญในชีวิตว่า ตัวเรานั้นตั้งใจจะทำอะไรให้กับโลกใบนี้ เราเกิดมาเพื่ออะไรกันแน่ ทุกอย่างมันมีคำตอบ แต่มนุษย์ก็ไม่คิดจะหาคำตอบทั้งที่เป็นเรื่องใกล้ตัว นั่นเพราะเราหลงอยู่ในทางโลก สะสมวัตถุทางโลกที่เอาไปไม่ได้ แต่ก็ไปยึดติดกับมัน จนหลงลืมทางแห่งชีวิตที่แท้จริง
เมื่อรู้เช่นนี้แล้วจงหมั่นเติมพลังงานชีวิตของคุณอยู่เสมอ จิตใจที่ว่างและปราศจากความกังวล ย่อมเป็นผู้ที่น่าเลื่อมใสและเป็นที่รักของผู้คนอย่างแท้จริง ความสำเร็จที่แท้จริงก็คือ การเอาชนะใจตนเองนั่นแหละครับ .....
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น