ผมว่าหลักกาลามสูตรของพระพุทธองค์ยังคงใช้ได้เสมอ โฆษณาบางอย่างเราไปหลงเชื่อเยอะก็ไม่ดีนะครับ บางทีหลักสำคัญอาจอยู่ที่ตัวหนังสือเล็กๆน้อยๆก็เป็นไปได้ที่เขาไม่ได้ โฟกัสให้เราไว้ ตอนเป็นเด็กเรามีความเชื่อตามสิ่งที่เราได้พบ ได้เห็น พอโตขึ้นเราได้เรียนรู้และพบเจอเรื่องราวต่างๆ มากมาย แท้ที่จริง เราก็ไม่ต่างจากคนไม่รู้อะไรเลย เราต้องเรียนรู้อะไรอีกเยอะบนโลกใบนี้
ผมจึงอยากแนะนำให้ท่านผู้อ่านศึกษาเรื่อง หลักกาลามสูตร ของพระพุทธองค์นี่แหละครับดีเยี่ยมสุด โดยใช้หลัก และใจความดังนี้
กาลามสูตร คือ พระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ชาวกาลามะ หมู่บ้านเกสปุตตนิคม แคว้นโกศล (เรียกอีกอย่างว่า เกสปุตตสูตร ก็มี[1]) กาลามสูตรเป็นหลักแห่งความเชื่อที่พระพุทธองค์ทรงวางไว้ให้แก่พุทธศาสนิกชน ไม่ให้เชื่อสิ่งใด ๆ อย่างงมงายโดยไม่ใช้ปัญญาพิจารณาให้เห็นจริงถึงคุณโทษหรือดีไม่ดีก่อนเชื่อ มีอยู่ 10 ประการ ได้แก่
- มา อนุสฺสวเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการฟังตามๆ กันมา
- มา ปรมฺปราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการถือสืบๆ กันมา
- มา อิติกิราย - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเล่าลือ
- มา ปิฏกสมฺปทาเนน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการอ้างตำราหรือคัมภีร์
- มา ตกฺกเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเดาว่าเป็นเหตุผลกัน
- มา นยเหตุ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะการอนุมานคาดคะเน
- มา อาการปริวิตกฺเกน - อย่าปลงใจเชื่อ ด้วยการเดาจากอาการที่เห็น
- มา ทิฎฐินิชฺฌานกฺขนฺติยา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะเข้ากันได้กับทฤษฎีที่พินิจไว้แล้ว
- มา ภพฺพรูปตา - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะผู้พูดมีลักษณะน่าเชื่อถือ
- มา สมโณ โน ครูติ - อย่าปลงใจเชื่อ เพราะนับถือว่า ท่านสมณะนี้ เป็นครูของเรา
เมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นอกุศลหรือมีโทษเมื่อนั้นพึงละเสีย และเมื่อใดสอบสวนจนรู้ได้ด้วยตนเองว่า ธรรมเหล่านั้นเป็นกุศลหรือไม่มีโทษ เมื่อนั้นพึงถือปฏิบัติ
ขอบคุณที่มา วิกิพีเดีย
ยิ่งคุณอายุมากขึ้น คุณยิ่งต้องพิจารณาให้มากขึ้น เพราะการตัดสินใจผิดพลาดแค่ครั้งเดียวมันเปลี่ยนชีวิตเราไปทั้งชีวิตเลยครับ จะทำการงานสิ่งใดก็จงให้ใช้ความรอบคอบให้มากๆ บุคคลไม่ควรทำความสิ้นหวัง ควรทำความเพียรพยายามให้มากๆ อย่าได้ท้อกับเรื่องบางเรื่องจนจิตใจคุณวุ่นวายไปหมด คิดดีทำดี ต้องได้รับแต่ความดีอย่างน่าอัศจรรย์แน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น