นิทานธรรมกับ ดร.เอ๋ย ตอน 4 วอชิงตัน โรบิง ...ว่าด้วยอิทธิบาท 4
โดย ดร.อภิวรรณ รัตนิน สายประดิษฐ์
............วิศวกรชื่อ จอห์น โรบิง
คิดอยากจะสร้างสะพานเชื่อม นครนิวยอร์คกับลองไอร์แลนด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างสะพานทั่วโลกเห็นว่า มันเป็นเรื่องที่ทำไม่ได ้ และ ให้โรบิงเลิกล้มความตั้งใจเสีย แต่โรบิงมีความมุงมั่นที่จะทำให้สำเร็จ
คิดอยากจะสร้างสะพานเชื่อม นครนิวยอร์คกับลองไอร์แลนด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการสร้างสะพานทั่วโลกเห็นว่า มันเป็นเรื่องที่ทำไม่ได ้ และ ให้โรบิงเลิกล้มความตั้งใจเสีย แต่โรบิงมีความมุงมั่นที่จะทำให้สำเร็จ
เขาได้ลูกชายชื่อ วอชิงตัน ซึ่งเป็นวิศวกรเช่นกันมาร่วมงานด้วย การก่อสร้างดำเนินไปด้วยดี แต่หลังจากนั้นไม่กี่เดือน ก็เกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ที่ทำให้วอชิงตันบาดเจ็บที่สมอง และกลายเป็นอัมพาต ไม่สามารถเดิน พูด หรือแม้แต่จะเคลื่อนไหวร่างกาย ผู้คนต่างพูดว่า
“เราเตือนคุณแล้ว” “เขาเป็นคนบ้าที่มีความเพ้อฝันโง่ๆ” “มันโง่ที่จะไล่ตามความฝันที่เป็นไปไม่ได้”
ทุกคนเห็นว่าโครงการนี้ควรถูกยกเลิก แต่ขณะที่วอชิงตันนอนอยู่บนเตียงในโรงพยาบาล เขาได้เห็นแสงอาทิตย์ส่องผ่านช่องหน้าต่าง ลมอ่อนพัดผ้าม่านบางๆโบกพลิ้ว เขามองเป็นท้องฟ้าและยอดไม้ มันเป็นสัญญาณให้เขาสู้ต่อไป...
เขารู้ว่าเขายังขยับนิ้วได้หนึ่งนิ้ว และเขาจะใช้มัน เขาเริ่มคิดรหัสที่จะติดต่อกับภรรยาด้วยนิ้วมือนี้ เขาแตะแขนของเธอ และสื่อกับเธอว่า เขาต้องการให้วิศวกรทำอะไร และงานก็ดำเนินต่อวอชิงตันใช้เวลา 13 ปี ... ในการสื่อข้อความด้วยการเคาะนิ้วบนแขนของภรรยา จนกระทั่งสะพานถูกสร้างโดยสำเร็จ
ทุกวันนี้สะพาน "บรุ๊คลิน" ที่มีชื่อเสียง ยืนหยัดเป็นอนุสรณ์ของชัยชนะของผู้ที่มีความมุ่งมั่นไม่ยอมสยบต่อความยากลำบากบ่อยครั้งที่เราประสบอุปสรรคในชีวิตประจำวัน แต่ปัญหาเหล่านั้นเล็กกว่าปัญหาของผู้อื่น สะพานบรุ๊คลินแสดงให้เราเห็นว่า ความฝันที่ดูเหมือนจะเป็นไปไม่ได้นั้น สามารถไปถึงได้ด้วยความพยายามและความมุ่งมั่น ไม่ว่ามันจะมีโอกาสสำเร็จน้อยเพียงใดก็ตาม
เคยมีบ้างไหมที่คุณหยุดไล่ล่าความฝัน หรือโครงการที่ดำเนินอยู่ หรือแม้แต่ลาออกจากงาน หรือจากมหาวิทยาลัย เพราะปะทะกับอุปสรรค หรือมีผู้บอกว่า สิ่งที่คุณพยายามจะไปให้ถึงนั้น มันเป็นเรื่อง “เป็นไปไม่ได้” และ ปล่อยให้สิ่งนั้นรบกวนจิตใต้สำนึกของคุณตลอดไป
ผู้เขียนมีโอกาสวิเศษสุดครั้งหนึ่งในชีวิต ที่ได้ติดตามพระนิสิตจากมหาจุฬาฯ รูปหนึ่ง ไปสัมภาษณ์ ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา ปูชนียบุคคลมหัศจรรย์ในวัยเฉียดร้อยปี คำพูดของท่านแต่ละประโยค เปรียบเสมือนแก้วแหวน ให้ผู้เขียนได้เก็บสะสมเป็นแรงบันดาลใจที่มีค่ายิ่ง
ท่านผู้หญิงเป็นผู้ก่อตั้งคณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแยกออกมาจากคณะอักษรศาสตร์ในขณะนั้น ซึ่งแน่นอนการเปลี่ยนแปลงระดับนี้ ย่อมหนีไม่พ้นแรงเสียดทาน และอุปสรรคต่างๆ อย่างแน่นอน
พระผู้สัมภาษณ์ ได้ถามท่านผู้หญิงว่า ท่านจัดการอย่างไร เมื่อประสบกับอุปสรรคต่างๆ ท่านผู้หญิงให้คำตอบที่ชัดเจนเป็นขั้นเป็นตอนว่า “ก่อนอื่น เราต้องแน่ใจว่า สิ่งที่เราทำนั้นเป็นสิ่งที่ดี ที่ถูกต้อง ที่เป็นประโยชน์ เมื่อแน่ใจแล้ว เราต้องต่อสู้ไปให้ถึงความสำเร็จ โดยไม่ท้อถอย”
ถ้าโทมัส เอลวา เอดิสัน
เลิกล้มความมุ่งมั่น ในการค้นพบไส้หลอดไฟฟ้า หลังจากล้มเหลวมาแล้วถึงสองพันครั้ง โลกของเราก็คงไม่สว่างไสวในตอนกลางคืนเช่นนี้ แม้ผู้ช่วยจะถอดใจเอ่ยปากว่า
เลิกล้มความมุ่งมั่น ในการค้นพบไส้หลอดไฟฟ้า หลังจากล้มเหลวมาแล้วถึงสองพันครั้ง โลกของเราก็คงไม่สว่างไสวในตอนกลางคืนเช่นนี้ แม้ผู้ช่วยจะถอดใจเอ่ยปากว่า
“งานของเราไม่ได้ผลเลย เราไม่ได้เรียนรู้อะไรจากการทดลอง”
แต่เอดิสันตอบด้วยความมั่นใจว่า “โอ้ เรามากันไกลมากแล้วหล่ะ ตอนนี้เรารู้จักวัสดุตั้งสองพันอย่าง ที่เอามาใช้เป็นไส้หลอดไม่ได้” ถ้าคุณเป็นนักอ่าน คุณก็คงรู้จัก อาจารย์ประมวล เพ็งจันทร์ อาจารย์ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้เขียนหนังสือชื่อ “เดินสู่อิสรภาพ”จากประสบการณ์ของท่าน ที่เดินด้วยเท้าโดยไม่พกเงินติดตัว ไม่ขอเงิน ไม่ขออาหารจากใคร ไม่ไปหาคนรู้จัก โดยเริ่มต้นจากเชียงใหม่ จนถึงปลายทางที่เกาะสมุย ซึ่งใช้เวลานานถึง 66 วัน หลายคนบอกว่าอาจารย์ “บ้า”แต่มันคือความฝันที่อาจารย์ทำให้เป็นจริง เพื่อค้นหาสัจธรรมของชีวิต มันเป็นการเดินทางทั้งภายในและภายนอก ภายในคือการเดินทาง ข้ามพ้นความเสียดาย ความโกรธเกลียด และความกลัวที่อยู่ในใจของตัวเอง สิ่งที่อาจารย์พบจากการเดินทางคือ คุณค่าของการมีชีวิตอยู่เพื่อผู้อื่น ของความเป็นมิตรไมตรี และความมีเมตตาของคนในสังคมที่ยังมีอยู่จริง หรือคุณคงรู้จัก หนุ่มเหล็กเทอร์รี่ ฟ๊อกซ์ ชาวแคนาดา ซึ่งพบว่าเป็นมะเร็งกระดูกเมื่อปี พ.ศ. 2520 เมื่อมีอายุเพียง 19 ปี ทำให้เขาต้องตัดขาขวาทิ้ง ตั้งแต่หัวเข่าลงไป เมื่อออกจากโรงพยาบาลเขาตั้งใจหาทุนเพื่องานวิจัยทางด้านโรคมะเร็ง ด้วยการวิ่งข้ามประเทศโดยใช้ขาเทียม เขาฝึกซ้อมอย่างหนัก จนในที่สุดในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2523 เขาก็เริ่มทำตามความฝัน เพื่อหาเงินให้ได้ 24 ล้านดอลล่าร์ หรือเฉลี่ยหนึ่งดอลล่าร์ต่อหนึ่งคน ตามจำนวนประชากรชาวแคนาดาในขณะนั้น
หลังจากผ่านไป 143 วัน หรือ 5,373 กิโลเมตร เทอร์รี่มีอาการเจ็บหน้าอก และหายใจไม่ออก เขาถูกส่งไปโรงพยาบาลทันที และแพทย์แจ้งว่ามะเร็งได้ลามไปที่ปอดของเขา ระหว่างอยู่ที่โรงพยาบาล มีผู้ที่เขาเคยสร้างแรงบันดาลใจ ส่งจดหมายให้กำลังใจมากมาย รวมทั้งประธานโรงแรมโฟร์ซีซั่น ผู้รับรองกับเทอร์รี่ว่า จะจัดให้มีการวิ่งมาราธอนประจำปี เพื่อหาเงินสนับสนุนโครงการของเขาต่อไป และให้ชื่อว่า “เทอร์รี่ ฟ๊อกซ์ รัน”
เทอร์รี่เสียชีวิตวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2524 เขาหาเงินได้ 24.71 ล้านดอลล่าร์ มากกว่าที่คาดคิด และปัจจุบัน “เทอร์รี่ ฟีอกซ์ รัน” ก็ยังคงหาเงินให้กองทุนวิจัยโรคมะเร็งสืบต่อมาเป็นประจำทั่วประเทศบุคคลเหล่านี้...
ไล่ล่าตามความฝันของเขาที่ยากยิ่งได้อย่างไร???
ได้ด้วยคุณธรรมที่เรียกว่า “อิทธิบาท 4” ซึ่งประกอบด้วย
ได้ด้วยคุณธรรมที่เรียกว่า “อิทธิบาท 4” ซึ่งประกอบด้วย
1. ฉันทะ หรือมีใจรัก
ถือว่าสำคัญมาก การฝืนทำอะไรที่ไม่ได้เกิดจากความพอใจ หรือศรัทธาของเราจริงๆ มีแต่สร้างความทุกข์ทรมาน ความเครียด แม้จะได้บางสิ่งที่มุ่งหวังก็ตาม ตรงนี้เป็นจุดที่คำแนะนำของอาจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์มีค่า
ถือว่าสำคัญมาก การฝืนทำอะไรที่ไม่ได้เกิดจากความพอใจ หรือศรัทธาของเราจริงๆ มีแต่สร้างความทุกข์ทรมาน ความเครียด แม้จะได้บางสิ่งที่มุ่งหวังก็ตาม ตรงนี้เป็นจุดที่คำแนะนำของอาจารย์ท่านผู้หญิงพูนทรัพย์มีค่า
คุณจะสร้างความรักสิ่งที่คุณทำได้ก็ต่อเมื่อ คุณมีศรัทธาว่าสิ่งที่คุณทำเป็นสิ่งที่ดี มีคุณค่า มีประโยชน์ต่อตัวเองและต่อผู้อื่น หากเรื่องนั้นเป็นเรื่องดีจริง ก็จงมุ่งมั่นที่จะทำด้วยความตั้งใจ และหากไม่ดีก็คงต้องเปลี่ยนแปลงศรัทธาเสียใหม่ เช่น หากเราคิดเบื่องานที่เราทำ เราลองเปลี่ยนมุมคิดของเราด้วยการสร้างศรัทธาใหม่ แทนที่คุณจะทำมันด้วยศรัทธาต่อลาภยศสรรเสริญ นั่นคือเพื่อเงินเดือน เพื่อคำชม เพื่อตำแหน่งของคุณเอง คุณลองเปลี่ยนศรัทธาเป็นการสร้างความสุข หรือแก้ความทุกข์ แก้ปัญหาให้แก่ผู้ที่คุณให้บริการ มันจะทำให้คุณมีพลังในการต่อสู้กับความเหน็ดเหนื่อย ต่อความเบื่อหน่ายได้อย่างดียิ่ง
2. วิริยะ คือความเพียรพยายาม
เป็นความมุ่งมั่นทุ่มเททั้งกายและใจ
เป็นความมุ่งมั่นทุ่มเททั้งกายและใจ
ความเพียรนี้ มีปรากฏอยู่ในธรรมะหลายหมวด เช่น
- พละ 5 ธรรมอันเป็นกำลังให้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นใจ ไม่หวั่นต่อภัยทุกอย่าง
- โพชฌงค์ 7 ธรรมที่เป็นองค์แห่งการตรัสรู้
- บารมี 10 คุณธรรมที่ควรประพฤติปฏิบัติอย่างยิ่งยวด หรือทศพิธราชธรรม ธรรมของพระราชา
เราได้เห็นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงประกอบด้วยพระราชอุตสาหะวิริยภาพเป็นอย่างยิ่ง พระองค์ไม่โปรดจะประทับอยู่เฉย แต่เสด็จออกเยี่ยมราษฎรในท้องถิ่นต่างๆ แม้ในถิ่นทุรกันดารและห่างไกล ไม่ว่าจะทรงลำบากพระวรกายเพียงใด และ ในวันหนึ่งๆ ทรงปฏิบัติพระราชภารกิจได้มากมาย จนไม่น่าที่จะเป็นไปได้ หากเป็นบุคคลทั่วไป คงต้องใช้เวลาหลายวันทีเดียว
วิริยะ หรือ ความเพียรเกิดจากฉันทะ หรือ ความศรัทธาในสิ่งที่ทำ และ ต้องมาคู่กับความอดทนอดกลั้น ไม่ย่อท้อต่อปัญหา หรือ ความท้าทาย และมีความหวังที่จะเอาชนะอุปสรรคทั้งหลาย
เปรียบเหมือนเม็ดทรายเม็ดเล็กๆ ที่ซัดผ่านก้อนหินทุกวัน ก็ยังทำให้ก้อนหินนั้นกลมเกลี้ยงได้ แต่วิริยะไม่ใช่ความดุดันอย่างเอาเป็นเอาตาย หรือ ต้องให้ได้ดังใจเสมอ เพราะในบางเวลาบางสถานการณ์ เราอาจจะต้องปล่อยวาง หรือ วางเฉยเพื่อรอสภาวะที่เหมาะสมกว่า เพื่อบรรลุถึงจุดประสงค์นั้น และให้จดจำไว้เสมอว่า
ถ้าคุณตกจาก “ความหวัง” (hope) คุณจะเจ็บน้อยกว่าตกจาก “ความคาดหวัง” (expectation)
3.จิตตะ คือใจที่จดจ่อต่อสิ่งที่เราคิดเราทำ
และรับผิดชอบด้วยความรอบคอบและรู้จริง ไม่ใช่สักแต่ทำไปแบบสุกเอาเผากิน ถ้าจะศึกษาอะไร ก็มุ่งมั่นให้ได้ความรู้นั้นจนเป็นผู้ชำนาญ การจะมีใจจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรียกอีกอย่างว่าสมาธิ เมื่อใจเป็นสมาธิ ใจของคุณจะไม่หวั่นไหว ไปกับสิ่งที่จะฉุดคุณออกไปความตั้งใจ เช่น ความเบื่อหน่าย หดหู่เซื่องซึมขี้เกียจ ฟุ้งซ่าน ร้อนใจ กระวนกระวายกลุ้มกังวล ลังเลสงสัย โกรธแค้น คิดร้าย เป็นต้น
และรับผิดชอบด้วยความรอบคอบและรู้จริง ไม่ใช่สักแต่ทำไปแบบสุกเอาเผากิน ถ้าจะศึกษาอะไร ก็มุ่งมั่นให้ได้ความรู้นั้นจนเป็นผู้ชำนาญ การจะมีใจจดจ่อต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เรียกอีกอย่างว่าสมาธิ เมื่อใจเป็นสมาธิ ใจของคุณจะไม่หวั่นไหว ไปกับสิ่งที่จะฉุดคุณออกไปความตั้งใจ เช่น ความเบื่อหน่าย หดหู่เซื่องซึมขี้เกียจ ฟุ้งซ่าน ร้อนใจ กระวนกระวายกลุ้มกังวล ลังเลสงสัย โกรธแค้น คิดร้าย เป็นต้น
4.วิมังสา คือ การทบทวนในสิ่งที่ได้คิดได้ทำมา
โดยใช้วิจารณญาณอย่างรอบรู้ ว่าเกิดผลดีและผลเสียอย่างไร เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น แทนที่จะมุทะลุทำโดยไม่พิจารณาว่ามันเป็นเส้นทาง หรือ วิธีการที่ถูกต้อง หรือดีที่สุดแล้วหรือไม่ เพราะการกระทำเช่นนั้น อาจพาเราเข้ารกเข้าพงไปได้ ยิ่งที่วิริยะมาก ก็ยิ่งผิดทางไปไกลสิ่งนี้พระพุทธเจ้าสอนมาหลายพันปีแล้ว ในขณะที่วิทยาการสมัยใหม่เพิ่งสอนให้มีการ ตรวจสอบ วัดผล เพื่อการปรับปรุง ในกระบวนการควบคุมการผลิต และ การบริหารทุกกระบวนการ
โดยใช้วิจารณญาณอย่างรอบรู้ ว่าเกิดผลดีและผลเสียอย่างไร เพื่อปรับปรุงแก้ไขให้ดียิ่งขึ้น แทนที่จะมุทะลุทำโดยไม่พิจารณาว่ามันเป็นเส้นทาง หรือ วิธีการที่ถูกต้อง หรือดีที่สุดแล้วหรือไม่ เพราะการกระทำเช่นนั้น อาจพาเราเข้ารกเข้าพงไปได้ ยิ่งที่วิริยะมาก ก็ยิ่งผิดทางไปไกลสิ่งนี้พระพุทธเจ้าสอนมาหลายพันปีแล้ว ในขณะที่วิทยาการสมัยใหม่เพิ่งสอนให้มีการ ตรวจสอบ วัดผล เพื่อการปรับปรุง ในกระบวนการควบคุมการผลิต และ การบริหารทุกกระบวนการ
ก่อนจะจบบทนี้...
ผู้เขียนขอฝากนิทานไว้อีกเรื่องให้เป็นอุทาหรณ์เตือนใจ คือเรื่อง กบสองตัว
ผู้เขียนขอฝากนิทานไว้อีกเรื่องให้เป็นอุทาหรณ์เตือนใจ คือเรื่อง กบสองตัว
กบสองตัวตกลงไปในหลุมลึก กบตัวอื่นเห็นว่าโอกาสรอดคงยาก ก็ตะโกนลงไปว่า
"อย่าพยายามกระโดดขึ้นมาเลยไม่มีทางสำเร็จ" กบสองตัวไม่ฟัง ทั้งสองพยายามกระโดดให้สูงที่สุดเท่าที่มีเรี่ยวแรง กบตัวอื่นก็ได้แต่ตะโกนให้หยุดกระโดด เพราะเปล่าประโยชน์ ยังไงๆ ก็ต้องตายแน่ๆ ในที่สุดกบตัวหนึ่งหยุดกระโดด มันตกลงไปตายส่วนกบอีกตัวยังกระโดดไม่เลิก กบตัวอื่นร้องบอกให้หยุดเถิด จะเหนื่อยเปล่า แต่มันยิ่งกระโดดสูงขึ้นๆ และในที่สุดก็พ้นปากหลุมขึ้นมาได้ กบตัวอื่นมารุมล้อมถามว่า
“เธอไม่ได้ยินพวกเราบอกให้หยุดกระโดดหรือ ? ” แต่พบว่า...
...กบตัวนั้นหูหนวกสนิท มันคิดว่ากบตัวอื่นกำลังตะโกนเชียร์มันอยู่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น