เวลาคือ เพื่อนแท้ ของนักลงทุน แต่ การจัดพอร์ตคือ คู่แท้ ของนักลงทุน
โลกของการลงทุน หากใครที่รู้ตัวเองว่าไม่เหมาะกับการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง หรือความผันผวนที่สูงมาก และมีผู้จัดการกองทุนที่ดี คอยจัดการให้ ทางเลือกของกองทุน SSF และ RMF คือไม่เลวทีเดียว
SSF และ RMF เหมาะกับใครและช่วงไหน
ช่วงอายุ 25+ SSF ดูจะเป็นตัวเบือกที่เหมาะกว่า เพราะจำนวนปีที่ต้องถือสั้นกว่า RMF สามารถขายเพื่อทำตามเป้าหมายได้โยไม่ต้องรอนานเกินไป
ช่วงอายุ 35+ SSF หรือ RMF ก็ได้ มีระยะเวลาในการลงทุนพอสมควรก่อนที่จะเกษียณ เกิน 10 ปี ขึ้นไปไม่ว่าจะเลือกลงทุนผ่าน RMF หรือ SSF ก็ไม่น่าจะมีปัญหาใด ๆ
ช่วงอายุ 45+ SSF หรือ RMF ก็ได้ มีระยะเวลาไล่เลี่ยกันมาก ๆ คือ 10 ปี จึงซื้อ SSF หรือ RMF ก็ได้
ช่วงอายุ 50+ RMF เป็นหลัก ที่หลือค่อยซื้อ SSF เพราะถือแค่ 5 ปีก็สามารถขายคืนได้เเล้ว แต่ถ้ามีเงินเหลืออยากลดหย่อนเพิ่ม ค่อยซื้อ SSF
ช่วงอายุ 55+ RMF ไว้ลดหย่อนไปเลยเพราะถือแค่ 5 ปี เท่านั้น
หลักในการคัดเลือกกองทุน
การจะลงทุนในกองไหน จำเป็นจะต้องเข้าใจกองทุนนั้นให้ดีซะก่อน ถ้าไม่รู้จักก็ยิ่งมีความเสี่ยงสูงมากที่จะไม่ได้รับผลตอบแทนจากการลงทุน หรือขาดทุนได้ วันนี้มีหลัก 3 ข้อ ดังนี้
1.ประเภทและนโยบายการลงทุนต้องเป็นกองทุน (สินทรัพย์) เติบโตในระยะยาว
2.มีกำหนดผลตอบแทนที่ชัดเจน และผู้จัดการกองทุนต้องมีฝีมือดี มีความรู้ความสามารถในการจัดการกองทุนนั้น ๆ
3.ค่าธรรมเนียมไม่แพง
หนังสือชี้ชวนการลงทุนบอกอะไรบ้าง มี 7 ข้อ
1 คุณกำลังลงทุนอะไร ? บอกถึงนโยบายการลงทุนและกลยุทธ์ในการบริหารจัดการลงทุนของกองทุน เช่น แบบเชิงรุกหรือเชิงรับ
2.กองทุนรวมนี้เหมาะกับใคร ? บอกถึงผู้ที่เหมาะสมไม่เหมาะสมกับการลงทุนในกองทุนนี้เพื่อให้นักลงทุนได้ประเมินตัวเองก่อนตัดสินใจลงทุน
3.คุณต้องระวังอะไรเป็นพิเศษ ? บอกถึงคำเตือนที่สำคัญ แผนภาพแสดงตำแหน่งความเสี่ยงของกองทุน (ระดับ 1-8) และปัจจัยความเสี่ยงที่สำคัญ
4.สัดส่วนของประเภททรัพย์สินที่ลงทุน บอกถึงสัดส่วนการลงทุนและทรัพย์สินที่ลงทุนสูงสุด 5 อันดัยแรก
5.ค่าธรรมเนียม บอกถึงค่าธรรมเนียมที่สำคัญของกองทุนที่คิดรวมภาษีแล้วทั้งค่าธรรมเนียมที่เรียกเก็บจากกองทุน และที่เรียกเก็บจากผู้ถือหน่วย
6.ผลการดำเนินงาน บอกถึงผลการดำเนินงานย้อนหลังที่ผ่านมาของกองทุนเทียบกับดัชนีชี้วัด และค่าความผันผวนของผลการดำเนินงาน
7.ข้อมูลอื่น ๆ บอกถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจลงทุน เช่น นโยบายการจ่ายเงินปันผล จำนวนขั้นต่ำในการซื้อขาย เวลาเปิดปิดทำการ และชื่อผู้จัดการกองทุน เป็นต้น
และนอกจากนี้คุณต้องรู้จักวิธีการบริหารพอร์ตการลงทุนให้ดี ปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ดูเเนวโน้มการเติบโตทรัพย์สิน พิจารณาในเรื่องราคา การกระตุ้นเศรษฐกิจและแนวโน้มของตลาดหุ้น ศึกษาให้มาก อย่าทำตามคนอื่นและหาแนวทางตัวเองให้เจอ เคล็ดลับความสำเร็จ ก็คือ การมีเส้นทางของตัวเราเองครับ
ขอบคุณที่มา SET
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น