คุณว่าตำรา หรือ ยุทธวิธีที่มนุษย์เราหรือพวกนักปราชญ์ยุคโบราณได้เขียนไว้ มีความสำคัญไหมครับ
ใช่ครับโลกเราอาจไม่ได้มีสงครามเหมือนยุคก่อนโน้น แต่ภายใต้ความสงบเรากำลังเล่มเกมกับสงครามระหว่างประเทศ ในเรื่อง เศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศ แต่ละประเทศต่างต้องการเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์สูงสุด
ขึ้นชื่อว่าเป็นมนุษย์ตราบใดที่คุณยังไม่หมดกิเลสเป็นเรื่องธรรมดาที่ยังมีความต้องการเฉกเช่นปถุชนทั่วไป ประเทศใหญ่ย่อมได้เปรียบประเทศเล็กนั้นก็เป็นเรื่องปกติ ทีนี้แล้วตำราพิชัยสงครามเกี่ยวกันยังไงละครับ (หลายคนอาจบอกว่าไม่เห็นเกี่ยวกันเลย)
อาจไม่เกี่ยวข้องโดยตรงครับ แต่...ถ้าลองไปศึกษาหาความรู้ดู คุณจะเข้าใจอะไรบางสิ่ง บางอย่างที่ซ่อนอยู่ในตำราเหล่านั้น เราศึกษาอดีตเพื่อเรียนรู้อนาคต (ทุกอย่างเป็นวงจรของมันครับ) ใช่ครับว่าในยุคเราอาจจะหานักปราชญ์ผู้กล้าที่จะมาเขียนตำราอะไรแบบนั้นได้ยาก เนื่องจากข้อจำกัดในหลายด้าน แต่เราศึกษาประวัติศาสตร์ของชาตินั้นๆได้ครับ เช่น อยากไปลงทุนประเทศไหน ศึกษาประวัติศาสตร์บ้านเขาก่อนครับ แล้วมาวิเคราะห์ดู เพราะเชื่อได้เลยครับว่ามันเปลี่ยนแปลงไปก็จริง แต่ก็ยังคงฝั่งรากฐานของระบบการเมืองการปกครอง สังคมในรูปแบบนั้นๆอยู่แน่นอน
โดยเฉพาะประเทศไทย ในอนาคตประเทศไทยจะเป็นประเทศที่ผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก จะเห็นได้จากอัตตราการเกิดน้อยกว่าการตายด้วยซ้ำ และปัญหาที่หนักกว่านั้นก็คือ เด็กรุ่นใหม่ความอดทนต่ำมาก ผมไม่ได้เหมารวมนะครับ เด็กบางคนก็มีดี การปลูกฝังรากฐานตั้งแต่เริ่มต้นจึงเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงกันมาก ผมอยากให้รัฐบาลใส่ใจเรื่องพวกนี้มากกว่าเรื่องคอรัปชั่นมากๆเลยครับ ถ้าคุณปลูกพื้นฐานเด็กเหล่านี้ให้มีคุณธรรม ต่อไปเด็กย่อมโตเป็นผู้ใหญ่ที่ดีได้ ส่วนตัวผมเชื่อในเรื่องนำคนดีมาดำรงตำแหน่งอยู่แล้วครับ เพราะคนดีเมื่อมาดำรงตำแหน่งอยู่ก็สามารถสร้างระบบที่ดีได้ แต่ถ้าระบบที่ดีแต่เอาคนไม่ดีมาดำรงตำแหน่ง ระบบก็จะพังและพินาศไปในที่สุด
เด็กคืออนาคตที่สำคัญของประเทศชาติ ควรให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ไม่ใช่มาทะเลาะกันแต่เรื่องผลประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ถ้าคุณรักประเทศชาติจริงเรื่องแบบนี้ไม่ต้องพูดให้ยืดยาวหรอกครับ อนาคตเราก็ไม่อาจรู้หรือไปคาดเดามันได้ครับ เอาเป็นว่าเราในฐานะพลเมืองคนหนึ่ง หน้าที่ที่ดีที่สุดของเราก็คือ การเป็นคนดี และตอบแทนสังคม ประเทศชาติ และสถาบัน ชาติ กษัตริย์ เท่านี้ก็ถือว่าเยี่ยมที่สุดแล้วครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น