เมื่อวานผมดูรายการกบนอกกะลา เป็นเรื่องวิถีชีวิตของชาวบ้าน บ้านห้วยล้อม จังหวัดแม่ฮ่องสอน พิธีกรรายการได้พาเราไปดูวิถีการดำเนินชีวิตโดยทำเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ดังนี้
1.การปลูกกาแฟ พันธุ์อาลาบิกา และ กาแฟชะมด
2.การทอผ้าขนแกะจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ
3.การปลูกข้าวแบบขั้นบันได
พอมองย้อนกลับไปในชีวิตของคนในยุคนี้ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการรับอิทธิพลจากตะวันตกเข้ามา ทำให้รูปแบบโครงสร้างทางสังคมเปลี่ยนแปลงไปมาก เมื่อได้มองถึงวิถีชีวิตแบบนี้แท้จริงแล้วเป็นสิ่งที่เราคนไทยควรอนุรักษ์และสืบทอดกันไว้ ความเรียบง่ายในการดำรงชีวิต เมื่อเรารักธรรมชาติธรรมชาติก็พร้อมที่จะส่งมอบสิ่งที่ดีๆ ให้กับเราเสมอ
หลายคนตามหาความสุขที่ยิ่งใหญ่ในชีวิตแต่สุดท้ายความสุขที่ยิ่งใหญ่อยู่แค่ปลายจมูกเอง วันนี้ผมขอเล่าวิธีการทอผ้าขนแกะของหมู่บ้านนี้พอสรุปให้ฟังครับ เพื่อเพื่อนๆจะได้รับข้อดีและนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตของคุณได้ เริ่มจาก
1. แกะ สถานที่ต้องมีความเหมาะสม ทั้งสภาพ ดิน ฟ้า อากาศ แกะที่นี้เป็นแกะพันธ์ผสม ในเเกะ 1 ตัวสามารถถอนขนได้แค่ปีละครั้ง น้ำหนักของขนขึ้นอยู่กับขนาดของตัวแกะ จะอยู่ราวๆ 3-5 กิโลกรัม
2.ขั้นตอนการถอนขน เราจะจับแกะมัดไว้ทั้ง 4 ขา จากนั้นก็ใช้กรรไกรที่หาได้ทั่วไปตัดขนแกะ ทิ้งระยะห่างจากหนังแกะประมาณ 0.5 ซม.
3.การล้างและต้ม เมื่อได้ขนแกะมาแล้วต้องทำการล้างน้ำสะอาดประมาณ 10 น้ำ (น้ำสุดท้ายควรล้างด้วยผงซักผ้าเพื่อความสะอาด) จากนั้นก็นำไปต้มในน้ำเดือนอุณหภูมิคงที่ประมาณ 70 องศา เพื่อทำการรีดไขมันของแกะออก ประมาณ 30 นาที เมื่อเสร็จเราจะนำไปล้างด้วยน้ำสะอาดอีกรอบซักด้วยผงซักผ้าอีกครั้ง จากนั้นนำไปตากแดดประมาณ 3 -4 วัน
4.การคัดแยก เมื่อได้ขนแกะที่ตากแดดเรียบร้อยก็ต้องทำการคัดแยกสิ่งสกปรกออกจากขนแกะ ได้แก่ พวกเศษหิน เศษหญ้าต่างๆ เหลือไว้แต่ขนแกะขาวๆ
5.การแปลง จากนั้นเราจะทำการแปรงขนแกะ เพื่อให้เกิดปุยขนแกะ กระบวนการนี้ต้องใช้แปลงพิเศษที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ
6.ปั่นด้าย เมื่อได้ปุยขนแกะแล้วก็ถึงกระบวนการปั่นเป็นเส้นด้าย
7.การย้อม กระบวนการย้อมที่นี้ทุกอย่างใช้สีธรรมชาติทั้งหมด เป็นเสน่ห์ที่ควรอนุรักษ์ไว้มากครับ วัสดุที่ใช้คือ กาแฟ และใบไม้ต่างๆในหมู่บ้าน วิธีการย้อมก็คือ นำไปบดให้ละเอียดจากนั้นนำไปต้มในน้ำเดือดในอุณหภุมิที่เหมาะสม (ถ้าเป็นกาแฟจะรักษาอุณหภูมิที่ 60 องศา เพื่อรักษาระดับสีที่ย้อมให้คงที่) ส่วนผสม 1 : 1 เช่น ขนแกะ 1 กิโลกรัม : กาแฟ 1 กิโลกรัม เป็นต้น
8.กระบวนการสุดท้ายก็คือการทอผ้า การทอผ้านี้เป็นงานที่ยากและต้องใช้ความละเอียดของงานเป็นอย่างยิ่ง จำเป็นต้องศึกษาและเรียนรู้จนชำนาญ จึงจะสามารถทำงานนี้ได้
เราจะเห็นได้ว่าทุกอย่างมีที่มาที่ไป เกิดจากการอยู้่กับความเป็นจริงอยู่กับสิ่งรอบตัว ถ้าคนเรารู้จักมองหาประโยชน์จากสิ่งรอบตัว ทุกอย่างก็สร้างสรรสร้างผลงานที่ยิ่งใหญ่ขึ้นได้ ไม่จำเป็นต้องไปคิดอะไรที่มันพิศดารมากมายหรอก เพราะสุดท้ายแล้วทุกอย่างก็คืนสู่ธรรมชาติทั้งนั้น เมื่อทุกอย่างเข้าถึง่จุดสูงสุด ได้แก่ ความเจริญทางวัตถุหรืออะไรก็แล้วแต่ สุดท้ายธรรมชาติก็จะปรับสมดุลของมันเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น